การดูวันหมดอายุ วันที่ผลิต
สินค้า บรรจุภัณฑ์อาหารทุกชนิดตามกฏหมายของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารจะต้องระบุอายุการเก็บ (Shelf Life) ไว้ที่ตัวบรรจุภัณฑ์ หรือมีฉลากที่บ่งบอก วันที่ผลิต วันหมดอายุ ของสินค้า อาหาร อย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าตามท้องตลาด โดยทั่วไปจะมีเลือกกำหนดได้ 2 อย่างคือ
- วันหมดอายุ (Use by หรือ Expiration Date) หมายถึง วันที่อาหารนั้นหมดอายุ ซึ่งหลังจากวันที่ ที่ระบุในฉลาก ไม่ควรเลือกซื้อแล้ว เพราะอาหารนั้นจะเริ่มเน่าเสียและเกิดเชื้อจูลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ยกตัวอย่าง 10 มกราคม 2565 สินค้านั้นจะไม่ควรรับประทานหลังจากวันที่ 11 มกราคม 2565
- วันก่อนวันสุดท้ายที่คุณภาพอาหารอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (Best Before) หรือหมายถึง วันสุดท้าย ที่อาหารยังคงมีสภาพที่จัดในเกณฑ์ดีมาก (Best if Used by Date) โดยมักใช้คำว่า ควรบริโภคก่อน ซึ่งมีความหมายว่าหลังจากวันที่ ที่ระบุในฉลาก อาหารเหล่านั้นยังคงสภาพที่รับประทานได้อยู่ แต่ทางผู้ผลิตจะไม่รับรองว่าอาหารเหล่านั้น หลังจากวันที่ ที่ระบุในฉลาก จะยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
ยกตัวอย่าง 10 มกราคม 2565 สินค้านั้นจะยังสามารถรับประทานได้อยู่
บริษัท ไทย อิงค์เจ็ท เทคโนโลยี จำกัด
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ ลงบนบรรจุภัณฑ์ ด้วยประสบการณ์ และทีมช่างที่ผ่านการอบรมโดยตรง เรามีทั้งบุคลากร และความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งการติดตั้ง เครื่องพิมพ์วันที่ รูปแบบต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์ของคุณ ตรงตามมาตรฐานสากล และทำให้สินค้าของคุณมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่เชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้
การประเมินเกี่ยวกับอายุของอาหารในบรรจุภัณฑ์
การประเมินจะใช้เกณฑ์ 3 ด้านดังนี้
- วิเคราะห์จุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในอาหาร เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์หาจุลินทรีย์ ที่ยอมมีได้ในอาหาร ในปริมาณที่ปลอดภัย เป็นเกณฑ์ที่ช่วยบ่งบอกถึงความปลอดภัยของอาหาร เช่น อาหารประเภทนม กำหนดว่าจะต้องไม่พบจุลินทรีย์ชนิด Salmonella Spp ในอาหาร 25 กรัม หรือ 25 มิลลิลิตร และไม่พบ Staphylococcus Aureus ในอาหาร 0.1 กรัม หรือ 0.1 มิลลิลิตร ผู้ผลิตสามารถใช้เกณฑ์ลักษณะนี้ในการกำหนดอายุการเก็บได้
- การเปลี่ยนแปลงของอาหาร เป็นเกณฑ์ที่วิเคราะห์จาก รูปร่าง สี ความหนืด ความกรอบของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา โดยสามารถใช้เครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัสอาหาร (Texture Analyzer) ในการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดค่าเหล่านี้เอง ว่าสภาพอาหารในระดับใดที่ยังยอมรับได้
- การรับรู้ทางประสาทสัมผัส เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสของอาหาร โดยใช้คนที่มีประสาทสัมผัสดีมากและได้รับการฝึกฝนโดยเฉพาะเป็นผู้ตรวจสอบ การรับรู้เหล่านี้มีความสำคัญที่สุดต่อการยอมรับของผู้บริโภค แม้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนเกณฑ์ใน 2 ข้อแรก ก็ถือว่าอายุในการเก็บของอาหารได้สิ้นสุดลงแล้ว
การเสื่อมคุณภาพของอาหาร สาเหตุที่อาหารเสื่อมคุณภาพมาจาก 3 ปัจจัย คือ
- อาหารแห้ง มีความชื้นต่ำ ปัจจัยด้านกายภาพจะเกิดได้ง่าย เนื่องจากอาหารดูดน้ำ หากเป็นผง หรือเม็ดจะทำให้เกาะเป็นก้อนหรือเป็นแผ่นบางหรือแท่งจะทำให้หายกรอบ เมื่อความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งเชื้อราจะเติบโตได้
- อาหารที่มีไขมัน ปัจจัยด้านเคมีจะเกิดได้ง่าย เนื่องจากไขมันทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน เกิดเปอร์ออกไซด์ (Peroxide) ที่มีกลิ่นเหม็นหืน
- อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีปริมาณน้ำสูง ปัจจัยด้านชีวภาพจะเกิดได้ง่าย เนื่องจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่อาศัยก๊าซออกซิเจนในการหายใจ
จะสังเกตได้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพมาจากน้ำและออกซิเจน (Oxygen Transmission Rate, OTR) ของวัสดุที่ทำบรรจุภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ถุงพลาสติก
องค์ประกอบที่มีผลต่ออายุการเก็บของอาหาร มี 3 อย่าง ได้แก่
- สมบัติของอาหาร: ลักษณะทางกายภาพส่วนประกอบ และสมบัติของอาหารที่ต่างกันจะส่งผลให้อายุการเก็บต่างกัน อาหารที่มีความขึ้นสูงและไขมันสูงจะเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่า อาหารที่มีความชื้นต่ำและไขมันต่ำ อาหารแปรรูปหลายชนิดมีการผ่านกระบวนการถนอมอาหาร เช่น แช่เย็น แช่แข็ง ฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะทำให้อายุการเก็บของอาหารนานขึ้น
- สภาวะในการเก็บรักษา: สภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และแสง ในระหว่างการขนส่งจากแหล่งผลิตจนถึงปลายทาง และการวางขายในร้านค้า มีผลต่ออายุการเก็บอาหาร ปัจจัยทางเคมีและชีวภาพส่วนมากจะเกิดได้เร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ช่วงอุณหภูมิที่เชื้อแบคที่เรียเติบโตได้อยู่ที่ 5-60 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้ อาหารแซ่เย็น (0-4 องศาเซลเซียส) และแช่แข็ง (-18 องศาเซลเซียส) จึงสามารถเก็บรักษาได้นานกว่าอาหารในสภาวะอุณหภูมิห้อง ผู้ผลิตอาหารต้องระบุวันหมดอายุควบคู่กับระบุอุณหภูมิในการเก็บรักษาไว้ที่ฉลาก และควรพิมพ์ติดกันหรือใกล้กัน อาหารที่ไม่ระบุสภาวะการเก็บให้เข้าใจว่าเก็บในสภาวะอุณหภูมิห้อง
- เทคโนโลยีการบรรจุและบรรจุภัณฑ์: ต้องเริ่มที่การทราบสมบัติของอาหาร และสาเหตุที่ทำให้อาหารไม่เป็นที่ยอมรับ จากนั้นจึงเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันสาเหตุเหล่านี้ได้ เทคโนโลยีการบรรจุที่สามารถลดปริมาณก๊ซออกซิเจนภายในช่องว่าง (Headspace) บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาหารนั้นเสื่อมคุณภาพได้ง่ายเพราะก็ซออกซิเจน จะทำให้ซะลอการเสื่อมเสียของอาหารได้ด้วย อันจะทำให้อายุการเก็บนานขึ้น นอกจากนี้การควบคุมการปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ให้สมบูรณ์ ไม่ให้เกิดูการรั่วซึม เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการรั่วซึมที่แม้ว่าจะเกิดเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้ไอน้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ อาหารก็จะมีอายุการเก็บสั้นลง
ในปัจจุบัน อาหารชนิดเดียวกันของตราสินค้าเดียวกันที่มีการกำหนดอายุการเก็บแน่นอน สามารถใช้บรรจุภัณฑ์ได้หลายประเภทเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้า
Thai Packaging Newsletter ฉบับที่ 149 กันยา-ตุลาคม 2564